อัปเดต กฎหมาย สัตว์เลี้ยง กรุงเทพฯ ล่าสุด กฎหมาย การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ 2568

ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ 2567 กฎหมาย สัตว์ เลี้ยง ล่าสุด
ภาพจาก Freepik
เรื่องราวที่เหล่าคนรักน้อนๆ ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว รวมถึงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ในพื้นที่เขต กทม. ต้องให้ความสนใจ ล่าสุดคือเรื่อง กฎบัญญัติการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในกทม 2568 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568  และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 มกราคม 2569 ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็ยระเบียบเรียบร้อยสำหรับการเลี้ยงสัตว์ใน กทม. รวมถึงเรื่องความปลอดภัยด้วย อัปเดต กฎหมาย สัตว์เลี้ยง มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

อัปเดต กฎหมาย สัตว์เลี้ยง กฎบัญญัติการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในกทม 2568 

ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ 2567 กฎหมาย สัตว์ เลี้ยง ล่าสุด
ภาพจาก Freepik

การจำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยงตามพื้นที่การเลี้ยง

  • สำหรับสุนัขและแมว
    • ห้องเช่าหรือคอนโดมิเนียมขนาด 20–80 ตารางเมตร: เลี้ยงได้ไม่เกิน 1 ตัว
    • ห้องเช่าหรือคอนโดมิเนียมขนาด 80 ตารางเมตรขึ้นไป: เลี้ยงได้ไม่เกิน 2 ตัว
    • บ้านที่มีเนื้อที่ดินไม่เกิน 20 ตารางวา: เลี้ยงได้ไม่เกิน 2 ตัว
    • บ้านที่มีเนื้อที่ดินไม่เกิน 50 ตารางวา: เลี้ยงได้ไม่เกิน 3 ตัว
    • บ้านที่มีเนื้อที่ดินไม่เกิน 100 ตารางวา: เลี้ยงได้ไม่เกิน 4 ตัว
    • บ้านที่มีเนื้อที่ดิน 100 ตารางวาขึ้นไป: เลี้ยงได้ไม่เกิน 6 ตัว
  • สัตว์เลี้ยงอื่นๆ เช่น ไก่ เป็ด ห่าน ม้า กวาง วัว ควาย
    • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ (เช่น โค กระบือ ม้า กวาง): เลี้ยงได้ไม่เกิน 1 ตัวต่อพื้นที่ 50 ตารางวา
    • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก (เช่น แพะ แกะ สุกร ม้าแคระ): เลี้ยงได้ไม่เกิน 3 ตัวต่อพื้นที่ 50 ตารางวา
    • สัตว์ปีก (เช่น ไก่ เป็ด ห่าน): เลี้ยงได้ไม่เกิน 1 ตัวต่อพื้นที่ 4 ตารางเมตร
    • นกขนาดใหญ่ (เช่น นกกระจอกเทศ): เลี้ยงได้ไม่เกิน 1 ตัวต่อพื้นที่ 50 ตารางเมตร
    • นกขนาดเล็ก: เลี้ยงได้ไม่เกิน 5 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

การจดทะเบียนและการฝังไมโครชิปสัตว์เลี้ยง

ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ 2567 กฎหมาย สัตว์ เลี้ยง ล่าสุด
ภาพจาก Freepik

โดยเจ้าของสุนัขหรือแมวจะต้องนำสัตว์เลี้ยงของท่านไปจดทะเบียนและฝังไมโครชิปภายใน 120 วันนับแต่วันที่สัตว์เกิด หรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่นำสัตว์มาเลี้ยงในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง ได้แก่
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของสัตว์
  • ทะเบียนบ้านที่สัตว์อาศัยอยู่
  • หนังสือยินยอมจากผู้ให้เช่า (กรณีเป็นผู้เช่า)
  • ใบรับรอง (คสส.1)
  • หนังสือรับรองการฉีดวัคซีน (ถ้ามี)
  • หนังสือรับรองการผ่าตัดทำหมันจากสัตวแพทย์ (ถ้ามี)
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) 
ส่วนการฝังไมโครชิป สามารถนำสุนัขหรือแมวไปฝังไมโครชิป ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า และผ่าตัดทำหมันได้ฟรี ที่คลินิกสัตวแพทย์ของกรุงเทพมหานครทั้ง 8 แห่ง ได้แก่
  1. คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 1 สีพระยา เขตบางรัก โทร. 0 2236 4055 ต่อ 213
  2. คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 2 มีนบุรี เขตมีนบุรี โทร. 0 2914 5822
  3. คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 3 วัดธาตุทอง เขตวัฒนา โทร. 0 2392 9278
  4. คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 4 บางเขน เขตจตุจักร โทร. 0 2579 1342
  5. คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 5 วัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ โทร. 0 2472 5895 ต่อ 109
  6. คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 6 ช่วงนุชเนตร เขตจอมทอง โทร. 0 2476 6493 ต่อ 1104
  7. คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 7 บางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย โทร. 0 2411 2432
  8. กลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง โทร. 0 2248 7417 
หากต้องการเปลี่ยนชื่อเจ้าของ แจ้งย้ายที่อยู่สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์เลี้ยงสูญหาย สามารถติดต่อได้ที่คลินิกสัตวแพทย์ กทม. เหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน 

ข้อปฏิบัติเมื่อต้องนำสัตว์เลี้ยงออกนอกสถานที่ 

ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ 2567 กฎหมาย สัตว์ เลี้ยง ล่าสุด
ภาพจาก Freepik
  • เมื่อนำสัตว์เลี้ยงออกนอกสถานที่จะต้องใ้ช้สายจูงที่มีความแข็งแรงเพียงพอ หรือให้สัตว์อยู่ในกรง คอก กระเป๋า หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมตลอดเวลา ห้ามปล่อยให้สัตว์เลี้ยงสร้างความรบกวนให้ผู้อื่น
  • เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบสิ่งปฏิกูลของสัตว์ โดยจะต้องจัดเก็บอุจจาระของสัตว์เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ

การควบคุมสุนัขสายพันธุ์ที่ดุร้าย

ผู้ที่เป็นเจ้าของสุนัขสายพันธุ์ที่ดุร้าย เช่น พิทบูลเทอร์เรีย บูลเทอร์เรีย สแตฟฟอร์ดเชอร์ บูลเทอร์เรีย ร็อตไวเลอร์ และฟิล่า บราซิเลียโร จะต้องใช้อุปกรณ์ครอบปาก พร้อมกับใช้สายจูงที่มั่นคงแข็งแรงเมื่อนำสัตว์เลี้ยงออกนอกสถานที่ ทั้งนี้จะต้องจับสายจูงห่างจากสุนัขไม่เกิน 50 cm. ตลอดเวลา และสำหรับสุนัขสายพันธุ์อันตรายที่เคยมีประวัติทำร้ายคน หรือเคยพยายามทำร้ายคน จะต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนเป็นสุนัขควบคุมพิเศษ หากฝ่าฝืนมีความผิดตาม พ.ร.บ. สาธารณสุข ปี พ.ศ. 2535 

และนี่ก็เป็นข้อมูลใหม่ที่เหล่าคนเลี้ยงสัตว์ในเขตพื้นที่ กทม. ต้องอัปเดต เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ย้ำอีกครั้งว่ากฎหมายสัตว์เลี้ยง กรุงเทพฯ ที่มีการประกาศไปนั้น จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 มกราคม 2569
ใหม่กว่า เก่ากว่า